ศัพท์เทคนิคงูหลามบอลไพธอน
ศัพท์เทคนิคงูหลามบอลไพธอน
-
1.1 เป็นตัวเลขสัญลักษณ์ แสดงจำนวนงูหลามบอลไพธอน เพศผู้ต่อเพศเมียที่มี
ยกตัวอย่างเช่น 2.1 ตัวผู้สองตัวตัวเมียหนึ่งตัว 0.3 ตัวเมียสามตัว
แต่ถ้าไม่ทราบเพศเลย จะกำหนดเป็น 0.0.2 หมายถึง ไม่ทราบเพศสองตัว
- Normal (นอมอล) เป็นคำที่ใช้เรียก งูหลามบอลไพธอนสีปรกติตามธรรมชาติ
-
Morph (มอร์ฟ) เป็นคำที่ใช้เรียก
งูหลามบอลไพธอนที่มีลวดลายสีสรรต่างออกไปจากสีปรกติ
-
Combo (คอมโบ) เป็นคำที่ใช้เรียก
งูหลามบอลไพธอนที่มีลวดลายสีสรรต่างออกไปจากปรกติโดยการผสมกันตั้งแต่สองมอร์ฟขึ้นไป
-
AKA เป็นตัวย่อของคำว่า also known as แปลว่ารู้จักกันในนาม
ยกตัวอย่างเช่น คอมโบ Pastel Spider รู้จักกันในนาม Bumble
bee เป็นต้น
- Gene (ยีน) เป็นคำที่ใช้เรียก ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่สามารถถ่ายทอดสีสรรลวดลาย
-
Dominant gene (โดมิแนนท์ ยีน) เป็นคำที่ใช้เรียก ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่สามารถถ่ายทอดสีสรรลวดลายแบบยีนเด่น
ยกตัวอย่างเช่น Spider, Pinstripe, Calico เป็นต้น
-
Co dominant gene (โคโดมิแนนท์ ยีน) เป็นคำที่ใช้เรียก
ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่สามารถถ่ายทอดสีสรรลวดลายแบบยีนเด่นร่วม
ยกตัวอย่างเช่น Pastel, Enchi, Mojave เป็นต้น
-
Super form (ซุเปอร์ฟอร์ม) เป็นคำที่ใช้เรียก ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่มียีนแบบยีนเด่นร่วม
สองยีนรวมตัวกัน (ยีนเดียวกัน) ยกตัวอย่างเช่น
Super Pastel, Super Enchi, Super Mojave เป็นต้น
-
ALS เป็นตัวย่อของคำว่า Acts Like Super เป็นคำที่ใช้เรียก
ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่มียีนแบบยีนเด่นร่วม สองยีนรวมตัวกัน (ยีนต่างกันแต่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน) ยกตัวอย่างเช่น
Butter Mojave, Butter Lesser, Fire Vanilla เป็นต้น
-
Recessive gene (รีเซสซีฟ ยีน) เป็นคำที่ใช้เรียก
ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่สามารถถ่ายทอดสีสรรลวดลายแบบยีนด้อย ยกตัวอย่างเช่น
Albino, Clown, Piebald เป็นต้น
-
het (เฮท) เป็นคำที่ใช้เรียก
ลักษณะพันธุกรรมของงูหลามบอลไพธอนที่มียีนแบบยีนด้อยเพียงหนึ่งยีน ยกตัวอย่างเช่น het
Albino 100% หมายถึง มียีน Albino 1 ยีนแน่นอน
100% หรือ het Albino 66% หมายถึง มีโอกาศ
66% มียีน Albino 1 ยีน หรือ het
Albino 50% หมายถึง มีโอกาศ 50% มียีน Albino 1
ยีน เป็นต้น
-
possible (พอสซิเบล) หรือ pos (พอส) เป็นคำที่ใช้เรียก โอกาศที่งูหลามบอลไพธอนตัวนั้นอาจจะมียีนหรือมอร์ฟอื่นๆในตัวงู
ยกตัวอย่างเช่น pos YB หมายถึง อาจจมียีน YB ในตัวงู หรือ pos OD หมายถึง อาจจมียีน OD ในตัวงู
-
BEL (เบล) เป็นตัวย่อของคำว่า Blue Eyed Leucistic
(บูล อาย ลูซูสติก) หรือ Blue Eyed
Lucy (บูล อาย ลูซี่) เป็นคำที่ใช้เรียก งูหลามบอลไพธอนขาวตาฟ้า
-
Dinker (ดิงเคอร์) เป็นคำที่ใช้เรียก
งูหลามบอลไพธอนที่ยังไม่รู้มอร์ฟ
-
Unproved morph (อันพรอฟ มอร์ฟ) เป็นคำที่ใช้เรียก มอร์ฟงูหลามบอลไพธอนที่ยังไม่สามารถรู้การถ่ายทอดสีสรรลวดลาย
-
Sire (ไซเออะ) เป็นคำที่ใช้เรียก ตัวพ่อพันธ์งูหลามบอลไพธอน
-
Dam (แดม) เป็นคำที่ใช้เรียก ตัวแม่พันธ์งูหลามบอลไพธอน
-
Proven Breed (พรอฟเวิน บรีด) เป็นคำที่ใช้เรียก งูหลามบอลไพธอนที่เคยผสมติด หรือเคยให้ไข่แล้ว
-
NFS เป็นตัวย่อของคำว่า Not for sell แปลว่าไม่ได้มีไว้ขาย
- Hold-backs เป็นคำที่ใช้เรียก งูหลามบอลไพธอนที่เจ้าของยังไม่จำหน่าย
Comments
Post a Comment